ประเทศพม่า
พม่า หรือ เมียนมา (พม่า: မြန်မာ, [mjəmà], มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (พม่า: ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, [pjìdàuɴzṵ θàɴməda̯ mjəmà nàiɴŋàɴdɔ̀] ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ
มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578
ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่
40
ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี
2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์
โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง
ธงชาติ
ตราแผนดิน
อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่
1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย
ๆ ครอบงำในประเทศ
อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง
และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์โกนบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย
บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1948 ช่วงต้นปกครองแบบชาติประชาธิปไตย
และหลังรัฐประหารใน ค.ศ. 1962 เป็นการปกครองแบบเผด็จการทหาร แม้เผด็จการทหารสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการใน
ค.ศ. 2011 แต่ผู้นำพรรคการเมืองส่วนใหญ่ยังเป็นอดีตนายทหาร
ประเทศพม่าอยู่ภายใต้การต่อสู้ชาติพันธุ์ที่รุนแรง
กลุ่มชาติพันธุ์มากมายของพม่าเกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองที่ดำเนินอยู่ยาวที่สุดสงครามหนึ่งของโลก
ระหว่างช่วงนี้ สหประชาชาติและอีกหลายองค์การรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องภายในประเทศ ใน ค.ศ. 2011 มีการยุบคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองอย่างเป็นทางการหลังการเลือกตั้งทั่วไป
ค.ศ. 2010 และมีการตั้งรัฐบาลในนามพลเรือน
แต่อดีตผู้นำทหารยังมีอำนาจภายในประเทศ กองทัพพม่าดำเนินการสละการควบคุมรัฐบาล
ร่วมถึงการปล่อยตัวออง ซาน ซูจีและนักโทษทางการเมือง
มีการปรับปรุงสิทธิมนุษยชนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนนำไปสู่การผ่อนปรนการลงโทษทางการค้าและเศรษฐกิจอื่นๆ ทว่ายังมีการวิจารณ์การปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาของรัฐบาลและการสนองต่อการปะทะกันทางศาสนา
ประเทศพม่าอุดมด้วยหยก อัญมณี น้ำมัน
แก๊สธรรมชาติและทรัพยากรแร่อื่นๆ ใน ค.ศ. 2013 จีดีพี
(ราคาตลาด) อยู่ที่ 56,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีดีพี
(อำนาจซื้อ) อยู่ที่ 221,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่องว่างรายได้ของประเทศพม่ากว้างที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เพราะเศรษฐกิจสัดส่วนใหญ่ถูกผู้สนับสนุนอดีตรัฐบาลทหารควบคุม ใน ค.ศ. 2014 จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) ประเทศพม่ามีระดับการพัฒนามนุษย์ต่ำ โดยจัดอยู่อันดับที่ 148 จาก 188 ประเทศ
ภูมิศาสตร์
ประเทศพม่า
ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่
(หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก
ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 29°
เหนือ และลองติจูด 92° และ 102°
ตะวันออก
ประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศยาว
271 กิโลเมตร (168 ไมล์) ติดกับอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือยาว 1,468 กิโลเมตร
(912 ไมล์)
พรมแดนทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของจีนยาว 2,129
กิโลเมตร (1,323 ไมล์) ติดกับลาวยาว 238
กิโลเมตร (148 ไมล์) และติดกับไทยยาว 2,416
กิโลเมตร (1,501 ไมล์)
พม่ามีแนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทางตะวันตกเฉียงใต้และใต้
ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพรมแดนทั้งหมด
การเมืองการปกครอง
ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก
ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554
ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร
คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน
พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน
แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก
สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า
รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืน แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์
และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง
พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า
ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ
เศรษฐกิจ
ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร
แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี
ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป
สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า
ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวร้ายที่สุดในโลก
องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย เกษตรกรรม
เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง
แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน
อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้
ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้
มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง
อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย
เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า
นครย่างกุ้ง
สกุลเงิน
สกุลเงินของประเทศพม่า
คือ จัต (Kyat) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 44 จัตต่อ 1
บาท หรือประมาณ 1,468 จัตต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลเดือนสิงหาคม
พ.ศ. 2561)
การคมนาคม
การขนส่งทางบก
ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ
ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้
ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง
ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองหมูแจ้ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร
และมีความยาวในเขตจีนจากหมูแจ้ถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร
ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ
หงสาวดี-ตองอู-ปยินมะนา-เมะทีลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-ตี่บอ-ล่าเสี้ยว-แสนหวี-หมูแจ้
รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล
ส่วนทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481
การขนส่งทางน้ำ
การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ
นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก
และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต
เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย
และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด
ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น